เมนู

ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่เป็นอเหตุกธรรม และโมหะ ด้วยอำนาจของ
อุปนิสสยปัจจัย.
9. สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่
สเหตุกธรรม และอเหตุกธรรม ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อนันตรูปนิสสยะ และ ปกตูปนิสสยะ
ที่เป็น ปกตูปนิสสยะ ได้แก่
ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และโมหะ
เป็นปัจจัยแก่ขันธ์ทั้งหลายที่สหรคตด้วยวิจิกิจฉา ที่สหรคตด้วยอุทธัจจะ และ
โมหะ ด้วยอำนาจของอุปนิสสยปัจจัย.

10. ปุเรชาตปัจจัย


[86] 1. อเหตุกธรรม เป็นปัจจัยแก่อเหตุกธรรม ด้วย
อำนาจของปุเรชาตปัจจัย

มี 2 อย่าง คือที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ และ วัตถุปุเรชาตะ
ที่เป็น อารัมมณปุเรชาตะ ได้แก่
บุคคลพิจารณาเห็นจักษุ ฯลฯ หทยวัตถุ โดยความเป็นของไม่เที่ยง
ฯลฯ โทมนัส ย่อมเกิดขึ้น เมื่อกุศลและอกุศลดับไปแล้ว ตทารัมมณจิตที่เป็น
วิบาก ที่เป็นอเหตุกธรรม ย่อมเกิดขึ้น.